ทางเลือกในการใช้งานบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่มอนิเตอร์ค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าที่สำคัญ สำหรับการตรวจสอบคุณภาพไฟฟ้าของกลุ่มโหลดภายในโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีความเหมาะสมในการใช้งานหลากหลายรูปแบบ สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ผ่านทางโปรแกรมสำเร็จรูปมีความสะดวกและรวดเร็วในการวิเคราะห์ผลและประมวลผลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ในการวางแผนบริหารจัดการสำหรับพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ
พลังงานไฟฟ้าเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการผลิตทุกประเภทภายในโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จึงต้องหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับแนวทางในการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การหาแนวทางในการลดต้นทุนกระบวนการผลิตลดลง โดยหนึ่งในแนวทางที่สามารถดำเนินการได้ คือ “การควบคุมปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า” ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้ผู้บริหารหรือวิศวกรสามารถเข้าถึงข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างง่ายที่สุดนั่นก็คือ การมอนิเตอร์ค่าพารามิเตอร์จากเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่เที่ยงตรงถูกต้อง
ดังนั้นการสำรวจการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อหาแนวทางในการลดค่าไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า เพื่อให้ง่ายในการนำไปประยุกต์การใช้งาน และมีความเหมาะสมกับการใช้งานของโหลดภายในโรงงานต่อไปได้อย่างถูกต้องควรมีคุณลักษณะทางไฟฟ้าพื้นฐานดังต่อไปนี้
ความสามารถของเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน
- รูปแบบในการตรวจวัด (Power circuit)
- ย่านการวัดแรงดันไฟฟ้า (Voltage measurement circuit)
- ย่านการวัดกระแสไฟฟ้า (Current measurement circuit)
- ความแม่นยำในการตรวจวัด (Accuracy Class)
- อัตราความเร็วในการตรวจวัด (Sampling Rate)
- มาตรฐานของเครื่องมือวัด (Standard Compliance)
- หน้าจอในการแสดงผลลัพธ์ (Meter Display)
- การแสดงผลลัพธ์ฮาร์มอนิกส์ (Harmonic Display)
- ความสามารถในการแสดงผล การเตือน และบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Alarm and Event Capability)
- การสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอก (Integrated communications)
- Digital Input / Digital Output
[pexyoutube pex_attr_src=”https://www.youtube.com/watch?v=Aetxm09kDgg”][/pexyoutube]
Recent Comments